หากพูดถึงแบรนด์สตรีทแฟชั่นชื่อดัง แบรนด์ที่ทุกคนต้องรู้จัก ก็คือ ‘Supreme’ ซึ่งเป็นที่ต้องการเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ไม่ว่าคอลเลกชันไหนที่วางจำหน่ายจะต้องมีคนจำนวนมากไปยืนต่อแถวและนำมาขายต่อในราคาที่สูงมาก ถึงอย่างนั้นคนจำนวนหนึ่งก็ยินดีที่จะเสียเงินในราคาที่สูงกว่าปกติ เพื่อที่จะได้มีเสื้อผ้าหรือสินค้าสุดหายากไว้ในครอบครอง

Where The Legendary Began จากพนักงานจนเป็นเจ้าของบริษัทที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก 


‘James Jebbia’ หนุ่มชาวอเมริกันที่เติบโตที่อังกฤษ ทำงานที่โรงงานผลิตถ่าน Duracell และใช้เงินจากการทำงานทั้งหมดไปกับการซื้อเสื้อผ้าทุกครั้งที่ไปลอนดอน หลังจากเขาเริ่มเบื่อกับการทำงานในโรงงานผลิตถ่านจึงย้ายกลับไปยังอเมริกา และเริ่มทำงานในร้านเสื้อผ้าแฟชั่นอย่าง Parachute และ Stussy ในนิวยอร์ก ในปี 1994 จึงตัดสินใจเปิดแบรนด์ Supreme ของตนเองขึ้นมาครั้งแรก โดยเริ่มมาจากความหลงใหลในวัฒนธรรมของแรงงานวัยรุ่นที่เปิดเพลงเสียงดังผ่านวิทยุ พบปะสังสรรค์กันตามถนน และเล่นสเกตบอร์ดกันทุกคน ถึงแม้ว่าตัวเขาเองไม่เคยเล่นสเกตบอร์ดเลย แต่ความต้องการที่จะเปิดแบรนด์เสื้อผ้าของเขาก็เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงเสื้อผ้าแฟชั่นสำหรับชาวสเกตบอร์ดที่มีคุณภาพดีได้โดยไม่ต้องใช้เงินจำนวนมาก

Be Quick For Collect It ต้องเร็วและอดทนถึงจะได้มาไว้ในครอบครอง 

ภายใต้โลโก้สีเหลี่ยมสีแดงตัวหนังสือสีขาวกับคำหนึ่งคำที่ได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปิน Barbar Kinger ไม่ว่าจะนำไปใส่บนสินค้าตัวไหนก็ทำให้ทุกครั้งของการวางขายสินค้าต้องมีคนต่อแถวยาวไปหลายช่วงตึก หลังจากเปิดร้านได้ไม่นานสินค้าทุกชิ้นของ Supreme ก็ถูกขนานนามว่าเป็น Chanel แห่งวงการสตรีทแฟชั่น อาจเป็นเพราะที่การผลิตสินค้าทุกชิ้นของ Supreme จะผลิตในจำนวนไม่มาก ไม่ใช่เพราะว่าต้องการความเป็นลิมิเต็ดเอดิชั่น แต่ด้วยความขี้เกียจในการตรวจเช็คสินค้าและการจัดเก็บสินค้าของ Jebbia จึงทำให้เขาไม่อยากผลิตในปริมาณที่มากเกินไป ส่งผลให้คนจำนวนมากต้องแย่งกันต่อคิวเพื่อซื้อสินค้าทุกชิ้นที่วางจำหน่ายเฉพาะวันพฤหัสของสัปดาห์

Guerrilla Marketing การตลาดแบบกองโจร


เหตุการณ์ครั้งหนึ่งที่ทำให้คนจำนวนมากได้รู้จัก Supreme คือการทำการตลาดแบบกองโจร โดย Jebbia และเพื่อนร่วมงาน ได้นำสติกเกอร์โลโก้ Supreme สีแดงไปติดทั่วกำแพงในเมืองนิวยอร์ก ทำให้นิวยอร์คแทบจะเป็นสีแดงเลยก็ว่าได้ มากไปกว่านั้นยังได้ติดสติกเกอร์ลงบนโฆษณาของ Calvin Klein เป็นรูปที่ Kate Moss ถ่ายแบบชุดชั้นใน และติดลงไปบนจุดที่ไม่น่านำไปติดเป็นอย่างยิ่ง หลังจากเหตุการณ์นั้น Clavin Klein ได้ทำการฟ้องร้อง Supreme และ Supreme ต้องชดใช้เงินเป็นจำนวนมาก แต่เงินที่เสียไปก็คุ้มกับการที่คนรู้จัก Supreme มากขึ้น

Going Big on Collaborations จุดเริ่มต้นของการ Collaboration 


ปัจจุบันหลากหลายแบรนด์มีการทำงานร่วมกัน แต่แบรนด์ที่ถือว่าเป็นต้นกำเนิดของการ Collaboration คือ Supreme เมื่อ 18 ปีก่อนหน้านี้ Jebbia ได้รับ Monogram สุดคลาสสิกของ Louis Vuitton มาใส่ลงบนสเกตบอร์ดทำให้เป็นเกิดการฟ้องร้องการเกิดขึ้น หลังจากตกลงกันได้ Supreme ก็ได้ร่วมมือกับแบรนด์ชื่อดังต่างอีกมากมายเช่น Comme des Garcons Vans Dr.Martens และ Levi’s เป็นต้น แต่การ Collaboration ที่มีถูกพูดถึงมากที่สุด คือการร่วมงานกับ Nike ออกแบบรองเท้าสำหรับ Supreme รุ่น Foamposite ที่มีคนมาต่อคิวเพื่อซื้อจำนวนมากจนเกิดการความวุ่นวายจนทำให้ตำรวจนิวยอร์กสั่งยกเลิกการขาย

Where Supreme Is In 2018 11 สาขากับยอดขาย 1 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ 


ถึงแม้ว่าในตอนเริ่มต้นของการเปิดกิจการจะใช้เงินลงทุนเพียง 12,000 ดอลล่าร์สหรัฐ แต่ในปัจจุบันคาดว่าน่าจะมีมูลค่ามากถึง 1 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ ปัจจุบัน Supreme มีร้านเพียง 11 สาขาทั่วโลกคือ New York, Brooklyn, Los Angeles, London, Paris, Harajuku, Shibuya, Daikenyama, Nagoya, Osaka และ Fukuoka ก็ไม่ทำให้การขายลดลงไปเลย และสินค้าของ Supreme ยังกระจายไปทั่วโลกผ่านการซื้อมาและขายต่อในราคาที่สูงมาก